วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฝรั่งใบแก้ท้องร่วงดับกลิ่น

   ใบฝรั่งมีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ลดการบีบรัดตัวของลำไส้ เพราะมีสารแทนนิน จัดเป็นยาสมาน รักษาอาการท้องร่วงเฉียบพลันได้ดี ซึ่งเห็นนักเภสัชศาสตร์ มักนำยอดอ่อนของฝรั่ง ปิ้งไฟต้มน้ำดื่ม หรือใช้ใบฝรั่ง 10-15 ใบ บดผสมน้ำ 1 แก้ว กรองแล้วต้ม 3 นาที เหยาะเกลือ ดื่มแก้ปวดท้อง และ ยังสามารถดับกลิ่นปาก ดับกลิ่นลมหายใจเหม็นไดด้วย
ในใบฝรั่งมีสาร quercetetin มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สาร postaglandin ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค
ต่อประสาท มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน
ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด มีวิตมินซีมาก
ต้านเชือแบคที่เรียและไวรัส

ดังนั้น ใบฝรั่งจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางยา เช่น แก้ท้องร่วง ล้างแผลสด แก้เหงือกบวม พิษเรื้อรัง ดูดหนองฝี รักษาโรคตามผิวหนัง แก้แพ้ยุง ดับกลิ่นปาก กลิ่นสุรา ผสมปรุงกลิ่นเครื่องสำอาง และน้ำยาบ้วนปาก
   ปัจจุบันมียาสำเร็จรูปจากใบฝรั่ง ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษเรียก กวาว่ แคปซูล บรรจุแคปซูลละ 250 มิลลิกรัม รับประทาน 3-5 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง แก้อาการท้องเสีย
ประโยชน์ทางโภชนาการ เป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยวิตามินซี โดยเฉพาะในผลสุแต่ไม่นิยมรับประทานเพราะมีกลิ่นฉุน ผลสุกจึงถูกนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ผสมด้วยน้ำสมุนไพรสำเร็จรูปหลายชนิด ส่วนน้ำฝรั่งที่ซื้อตามร้านอาหาร จะเป็นสีเขียวสวยงาม นั่นเป็นเพราะเจือสี ทางที่ดีทำเองก็ได้ง่ายๆ โดยนำฝรั่งสุก มาล้างให้สะอาด นำมาบดและเติมน้ำเพื่อสะดวกแก่การคั้นน้ำระหว่างบดควรเหยาะเกลือนิดหน่อย เนื่องจากเกลือจะช่วยป้องกันการเกิดยางสีดำจากผลฝรั่ง จากนั้นกรองกากทิ้งจะได้น้ำฝรั่ง ผสมน้ำเชื่อจะได้น้ำฝรั่งสดถูกหลักอนามัย เก็บในภาชนะเคือบหรือภาชนะแก้ว ปิด ฝาให้สนิท แช่ในตู้เย็น อยู่ได้นาน 5-7 วัน ไม่ควรใช้ภาชนะเหล็ก เพราะเหล็กจะทำปฏิกริยาทำให้ละลายสารในผลฝรั่ง ได้น้ำสีเขียวจนดำเป็นอันตรายต่อร่างกาย
    
   ถ้ามีกลิ่นสาบสางจากซากหนู ที่ตายเหม็นเน่าตามซอกหลืบต่างๆ ให้รีบหาฝรั่งสุก 2-3 ลูก วางทิ้งไว้ในรัศมีของกลิ่นเหม็นโชย จะพบว่ากลิ่นไม่พึงประสงค์นั้นจะค่อยๆหายไป

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ร่วมพิธีในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2553
ได้รับเกียรติให้เชิญพานพุ่มในวันพ่อแห่งชาติ  ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์

นวัตกรรมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง บวชนาคช้าง

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือเสริมประสบการณ์
                                ทางภาษา  เรื่อง  บวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้ศึกษา                   นางรัตนาภรณ์  เรืองไทย
ปีที่พิมพ์                ๒๕๕๒

บทคัดย่อ

                   การศึกษา การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือ
เสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่องบวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะและหนังสือเสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง บวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐   เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะและหนังสือเสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง บวชนาคช้าง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือเสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง
บวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ โรงเรียนบ้านท่าศิลา ตำบล
เมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๒ จำนวน ๗๔ คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑ โรงเรียนบ้านท่าศิลา ตำบลเมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๒ ภาคเรียนที่๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๓๕ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นห้องที่ผู้ศึกษาทำการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี ๕ ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๐ แผน เวลา ๒๐ ชั่วโมง ไม่รวมทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๐ ชุด หนังสือเสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง บวชนาคช้าง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๑ เล่ม ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น  แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ มี ๔๐ ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก  และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือเสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง
บวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

                   ผลการศึกษาพบว่า
๑.   การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือ
เสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง บวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ที่มีประสิทธิภาพ  ๘๕.๐๕/๙๒.๖๔ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
                         ๒. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือ
เสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง บวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ 
มีค่าเท่ากับ  ๐.๘๗๔๐   แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ   ๘๗.๔๐
                         .  คะแนนเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๑  ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือเสริมประสบการณ์
ทางภาษา เรื่องบวชนาคช้าง สูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .๐๕ 
                         ๔. ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการเรียนด้วยแผน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือเสริมประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง บวชนาคช้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด


วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความวันครู

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าครูมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศชาติ ซึ่งบุคลากรเหล่านั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศชาติเกิดความเจริญก้าวหน้า  แต่ก็ยังมีบุคลากรอีกมากเช่นกันที่ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ  อาจจะเป็นเหตุผลอันเนื่องมาจากความด้อยโอกาสทางสังคม  ฐานะทางเศรษฐกิจ  รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบ  และบุคลากรของประเทศชาติที่ยังไม่ได้รับการศึกษาจึงน่าจะมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันด้วยเพื่อที่จะได้เป็นกำลังเสริมในการที่จะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศโดยอาจจะเป็นการพัฒนาทั้งทางตรงและทางอ้อม  และอีกอย่างที่ไม่ควรลืมก็คือวัฒนธรรมไทยที่ให้ความเคารพนับถือผู้ที่อาวุโสกว่า ให้ความเกรงใจ  ให้เกียรติ  ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม  ยกตัวอย่างเช่น น้องให้ความเคารพพี่  ลูกให้ความเคารพพ่อแม่  หลานให้ความเคารพญาติผู้ใหญ่  และศิษย์ให้ความเคารพครู ซึ่งโดยภาพรวมก็คือผู้น้อยจะต้องเคารพผู้ใหญ่  แสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยว่ามีความประนีประนอมสูง  มีความยืดหยุ่นสูง  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  มีสัมมาคารวะ  โดยเฉพาะการยกมือไหว้อันเป็นเอกลักษณ์ที่ดีและน่าชื่นชมของคนไทยซึ่งในหลาย ๆ ประเทศ ก็ได้ชื่นชมประเทศไทยตรงจุดนี้  
                สำหรับครูผู้ซึ่งเป็นผู้ที่คอยอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดี  คนเก่ง ของสังคมและประเทศชาติ ก็ควรที่จะได้รับการยกย่องชมเชยเป็นที่สุด  ครูเปรียบเสมือนผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทุก ๆ อาชีพ  เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือแม่พิมพ์ของชาติซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ผู้น้อยจะต้องให้ความเคารพโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิษย์ของครู  เพราะศิษย์เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดครู  รับเอาความรู้ที่ครูถ่ายทอดออกมา  ซึ่งความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกมานั้นอาจจะเป็นความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกจากประสบการณ์ของครู  หรืออาจจะเป็นความรู้ที่ออกมาจากตำราที่ครูได้เรียบเรียงและถ่ายทอดออกมาให้ศิษย์  โดยคำว่าครูในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นครูที่สอนศิษย์แต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่หมายความถึงครูทุกคนที่คอยให้ความรู้และประสบการณ์ในแต่ละด้าน  ที่เห็นได้ชัดคือ พ่อแม่ ที่ให้การอบรม  สั่งสอน  เลี้ยงดู  ให้คำแนะนำ  ให้คำปรึกษา แก่ลูกในทุก ๆ เรื่อง  ฯลฯ  ส่วนตัวของศิษย์ก็จะต้องเชื่อฟังครู  ทำตัวให้เป็นที่รักของครู  เมื่อครูบอกกล่าว  ตักเตือน  หรือชี้แนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ก็ควรที่จะเปิดใจรับฟังอย่างจริงใจ  ไม่เสแสร้ง  เพราะว่าสิ่งที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากตัวครูจะไปสู่ศิษย์ในลักษณะของความจริงใจและเป็นการแบ่งปันโดยไม่มีการหวงความรู้แต่อย่างใด
                ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงคำว่าการแบ่งปัน ก็คือการให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ  การให้เพราะความอยากที่จะให้  ให้แล้วมีความสุขใจ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน  และอาจจะเป็นความคิดที่ว่าสิ่งที่ให้นั้นจะเกิดประโยชน์กับตัวผู้รับมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  และเมื่อศิษย์รับเอาความรู้  ประสบการณ์  คำแนะนำที่ดีจากครู  ศิษย์ก็ควรนำสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดให้กับผู้อื่นที่ยังไม่เข้าใจได้รับรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการใช้ชีวิต  เพราะฉะนั้นทั้งครูและศิษย์คือบุคคลที่ร่วมกันถ่ายทอด  แบ่งปัน  สร้างสรรค์  จึงทำให้เกิดเป็นเครือข่ายทางสังคม มีความกลมเกลียว  ผูกพัน  ระหว่างครูกับศิษย์ที่ช่วยทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนา  ทำให้บุคคลได้รับการขัดเกลาทางสังคม  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้  มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  มีเหตุมีผล  เป็นคนดี  คนเก่งของสังคม  ซึ่งจะโยงไปถึงเรื่องของความพอเพียงในสังคมไทย
                ความพอเพียงเป็นสิ่งที่คนในสังคมไทยปัจจุบันจะต้องให้ความสำคัญ  เพราะสังคมที่มีแต่การแก่งแย่งชิงดี  เอารัดเอาเปรียบ  ไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันก็จะทำให้สังคมเกิดความขัดแย้ง  เกิดการทุจริตคอรัปชั่น ไม่มีความสงบเรียบร้อย  ประชาชนไม่มีความสุข  จึงได้มีกระแสเรื่องความพอเพียงเข้ามาในสังคมไทยอันเป็นแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ต้องการจะให้คนไทยรู้จักพึ่งพาตนเอง  รู้จักพัฒนาตนเองให้อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง  ซึ่งองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มนำเอาแนวคิดความพอเพียงมาปรับใช้ในองค์กรของตนเองแล้ว  เนื่องจากว่าที่ผ่านมาองค์กรมุ่งเน้นแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงประชาชนผู้บริโภค  ทำให้องค์กรไม่มีการเจริญเติบโตเท่าที่ควรและไม่ได้รับการยอมรับ  ดังนั้นองค์กรจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของสังคมโดยรวม  จึงให้การแบ่งปันผลประโยชน์กับประชาชนในสังคม เพื่อที่จะทำให้เกิดความผูกพันระหว่างองค์กรกับประชาชนในลักษณะที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน  โดยใช้แนวคิดความพอเพียงที่จะทำให้บุคคล  องค์กร  สังคม  และประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน  ซึ่งการที่บุคคลจะมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตนั้น  ขึ้นอยู่กับผู้ที่อบรมสั่งสอนและสร้างให้บุคคลประสบความสำเร็จนั่นก็คือครู

บทความทางวิชาการ